วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การลงทะเบียนผู้ค้ากับภาครัฐในระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์

        ด้วยสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ (สำนักงานป.ป.ช.) ได้กำหนดมาตราการเพื่อให้หน่วยงานของรัฐปฏิบัติ กล่าวคือให้หน่วยงานของรัฐกำหนดเงื่อนไขและคุณสมบัติของบุคคลหรือนิติบุคคลที่จะเข้าเป็นคู่สัญญา (ผู้เสนอราคา) ไว้ในขอบเขตของงาน (Terms of  Reference : TOR) และกำหนดให้คู่สัญญาต้องปฎิบัติ  ดังนี้


  1. บุคคลหรือนิติบุคคลที่จะเข้าเป็นคู่สัญญาต้องไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้ที่ไม่แสดงบัญชีรายรับรายจ่ายหรือแสดงบัญชีรายรับรายจ่ายไม่ถูกต้องครบถ้วนในสาระสำคัญ
  2. บุคคลหรือนิติบุคคลที่จะเข้าเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐซึ่งได้ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government Procurement : e-GP) ต้องลงทะเบียนในระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมบัญชีกลางที่เว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
  3. คู่สัญญาต้องรับจ่ายเงินผ่านบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน เว้นแต่การรับจ่ายเงินแต่ละครั้งซึ่งมีมูลค่าไม่เกินสามหมื่นบาทคู่สัญญาอาจรับจ่ายเป็นเงินสดก็ได้

          ดังนั้น  เพื่อให้การดำเนินตามที่สำนักงาน ป.ป.ช. กำหนดตามข้อ 2 เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ในการนี้ กรมบัญชีกลางจึงได้ปรับปรุงระบบ e-GP โดยให้ผู้ค้าที่ลงทะเบียนและผ่านการการอนุมัติการลงทะเบียนในระบบ e-GP สามารถพิมพ์ “แบบแสดงการลงทะเบียน” จากระบบ e-GP เพื่อนำไปยี่นพร้อมเอกสารต่างๆ ที่ต้องยี่นกับหน่วยรัฐ เพื่อแสดงว่าได้ปฏิบัติตามมาตรการของสำนักงาน ป.ป.ช. จึงขอให้ท่านสมาชิก ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
            (1.1)  ให้ผู้ค้าทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคลงทะเบียนผ่านทางเว็บไซต์  www.gprocurement.go.th โดยลือกหัวข้อการลงทะเบียนผู้ค้ากับภาครัฐ
            (1.2)  เมื่อเข้าสู่ระบบการลงทะเบียนผู้ค้ากับภาครัฐ ในระบบดังกล่าว จะมีการปฏิบัติงาน 4 ขั้นตอน เมื่อลงทะเบียนถึงขั้นตอนที่ 3 ให้พิมพ์แบบแจ้งการลงทะเบียนผู้ค้า กับภาครัฐเพื่อเข้าใช้งานในระบบ e-GP (e-GP 03-0101) และให้ผู้มีอำนาจในหนังสือรับรอง ลงนามในแบบแจ้งดังกล่าว
            (1.3)  ให้ส่งแบบแจ้งการลงทะเบียนฯ ตามข้อ 1.2 พร้อมเอกสารประกอบการลงทะเบียน เช่น สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนฉบับล่าสุดไม่เกิน 60 วันสำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของสถานประกอบการ สำเนาบัตรประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจลงนามในแบบแจ้งฯที่ได้รับรองสำเนาถูกต้องแล้ว เป็นต้น กรณีผู้ค้ามีสถานประกอบการตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร ให้ส่งไปยัง สำนักมาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ กรมบัญชีกลาง และกรณีผู้ประกอบการตั้งอยู่ในภูมิภาค ให้ส่งไปยังสำนักงานคลังจังหวัดพื้นที่นั้นๆ
(2)  การแจ้งผลอนุมัติการลงทะเบียน
                   (2.1)  เมื่อผู้มีสิทธิ์อนุมัติการลงทะเบียนได้รับเอกสารการลงทะเบียน และเอกสารประกอบการลงทะเบียนตามข้อ (1.3) ครบถ้วน จะทำการอนุมัติการลงทะเบียนดังกล่าว และระบบฯ จะแจ้งผลอนุมัติการลงทะเบียนให้ผู้ค้าทาง E-mail  ภายใน 3 วันทำการ กรณีผู้ค้าไม่ส่งแบบแจ้งการลงทะเบียนและเอกสารประกอบการลงทะเบียนดังกล่าวข้างต้น ภายใน 15 วัน นับถัดจากวันลงทะเบียนในระบบจะลบข้อมูลการลงทะเบียนออกจากระบบ และผู้ประสงค์จะลงทะเบียนต้องลงทะเบียนใหม่อีกครั้งหนึ่ง
                   (2.2)  กรณีผู้ค้าไม่ได้รับแจ้งผลอนุมัติการลงทะเบียนภายในเวลาที่กำหนด ให้ประสานไปยังสำนักมาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ กรมบัญชีกลาง หรือสำนักงานคลังจังหวัดพื้นที่ที่สถานประกอบการของผู้ค้าตั้งอยู่ เพื่อดำเนินการแจ้งผลอนุมัติการลงทะเบียนให้ผู้ค้าทราบทาง E-mail  อีกครั้งต่อไป
(3)  เมื่อผู้ค้าได้รับรหัสผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) แล้วต้องเข้าสู่ระบบครั้งแรก (First Time Log in) เพื่อเปลี่ยนสถานะของผู้ค้าจากสถานะ “อนุมัติ” เป็นสถานะ “ใช้งาน” เพื่อให้สามารถเข้างานในระบบ e-GP ครั้งต่อไป
*** กรณีผู้ค้าเคยลงทะเบียนและได้ดำเนินการตามข้อ 3 แล้ว ไม่ต้องลงทะเบียนอีก
(4)  การพิมพ์ “แบบแสดงการลงทะเบียน” เมื่อได้ดำเนินการตามข้อ (3)  แล้วผู้ค้าเข้าสู่ระบบ e-GP ด้วยรหัส ผู้ใช้และรหัสผ่านที่ผู้ค้ากำหนด จากนั้น คลิก เมนู ข้อมูลผู้ค้าภาครัฐ คลิก ข้อมูลผู้ค้า/พิมพ์แบบแสดงการลงทะเบียน”  ระบบจะแสดงหน้าจอข้อมูลผู้ประกอบการ ผู้ค้าสามารถพิมพ์ แบบแสดงการลงทะเบียน” นำไปยื่นพร้อมกับเอกสารการเสนอราคาต่างๆ เพื่อเป็นการแสดงว่าผู้ค้าได้ปฏิบัติตามประกาศของสำนักงาน ป.ป.ช. แล้ว
ทั้งนี้  สำหรับรายละเอียดคู่มือการลงทะเบียนผู้ค้ากับภาครัฐและการพิมพ์ “แบบแสดงการลงทะเบียน” สามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ www.gprocurement.go.th หัวข้อ “แบบแสดงการลงทะเบียน” ในระบบ e-GP ตามประกาศของสำนักงาน ป.ป.ช.
ที่มา สมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
www.tca.or.th/?p=2447

วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

แนวทางการใช้ระเบียบพัสดุฯ ข้อ 39 วรรค 2


            การจัดซื้อจัดจ้าง ด้วยวิธีตกลงราคา ข้อ 39 วรรค 2 บางหน่วยงานงานยังเข้าใจคลาดเคลื่อน และอาจลุกลามไปจนถึงการต้องถูกลงโทษทางปกครองซึ่งหลายท่านไม่ทราบมาก่อน ดังนั้น ด้วยความห่วงใย และป้องกันปัญหาหลังน้ำลด คือ น้ำลดตอผุด อาจเดือดร้อนเพราะความไม่รู้ จะทำให้ประวัติราชการของท่านด่างพร้อยและมัวหมองไปเสียเปล่าๆ อย่างไม่น่าให้อภัยตัวเอง และความสำคัญอยู่ที่ว่า 39 วรรค 2 มีหลักเกณฑ์การใช้งานค่อนข้างชัดเจน และไม่ใช่เป็นกรณีเร่งด่วนทุกเรื่อง



ประเด็นสำคัญ ของระเบียบพัสดุ ข้อ 39 วรรค 2


วิธีการตกลงราคา


          ข้อ 39 การซื้อหรือจ้างโดยวิธีตกลงราคา ให้เจ้าหน้าที่พัสดุติดต่อตกลงราคากับผู้ขายหรือผู้รับจ้างโดยตรง แล้วให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุจัดซื้อหรือจ้างได้ภายในวงเงินที่ได้รับความเห็นชอบจากหัวหน้าส่วนราชการ หรือผู้ได้รับมอบอำนาจ ตาม ข้อ 29 (วรรค 2) การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีตกลงราคาในกรณีจำเป็นและเร่งด่วนที่เกิดขึ้น โดยไม่ได้คาดหมายไว้ก่อนและไม่อาจดำเนินการ ตามปกติได้ทัน ให้เจ้าหน้าที่พัสดุหรือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการนั้นดำเนินการไปก่อน แล้วรีบรายงานขอความเห็นชอบต่อหัวหน้าส่วนราชการ และเมื่อหัวหน้าส่วนราชการ ให้ความเห็นชอบแล้ว ให้ถือว่ารายงานดังกล่าวเป็นหลักฐานการตรวจรับโดยอนุโลม ไม่ใช่เป็นกรณีเร่งด่วนทุกเรื่อง ขอย้ำอีกครั้ง



หลักคิดก่อนใช้


         ตามระเบียบฯ พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 39 วรรค 2 องค์ประกอบของการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีตกลงราคากรณีจำเป็นเร่งด่วนคือ

  1. เป็นกรณีจำเป็นและเร่งด่วน
  2. เกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดหมายไว้ก่อน
  3. ไม่อาจดำเนินการตามปกติได้ทัน กรณีที่ส่วนราชการจะสามารถดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างไปก่อนโดยไม่ผ่านกระบวนการซื้อหรือจ้างตามปกตินั้น จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงครบถ้วนทั้ง 3 องค์ประกอบ จะขาดเสียซึ่งองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งไม่ได้



(ได้แนบแบบฟอร์มการทำบันทึกวิธีตกลงราคา ข้อ 39 วรรค 2 มาให้แล้ว ท่านสามารถปรับบางส่วนให้สอดคล้องกับหน่วยงานของท่านเอง)


(ตัวอย่าง)



บันทึกข้อความ

ส่วนราชการ ( xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx) โทร xxxxxxxxxxxx  
ที่   xxxxxxxxxxx                                                         วันที่ xx   xxxxxx  xxxx
เรื่อง    รายงานขออนุมัติซื้อ/จ้าง โดยวิธีตกลงราคาในกรณีจำเป็นเร่งด่วน


เรียน   (ระบุตำแหน่งผู้บริหารหน่วยงานของท่าน)


                       ตามที่(ระบุชื่่อหน่วยงานของท่าน)ได้อนุมัติให้.......................................(ข้าราชการ/เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในฐานะหัวหน้าคณะในการเดินทาง)  เดินทางไปราชการ............................... (เดินทางไปราชการเรื่องอะไร)  ณ ..................................................(สถานที่ไปราชการ)  ระหว่างวันที่................ เดือน......................................พ.ศ. .....................ถึงวันที่................เดือน.................................พ.ศ. .................... เดินทางโดยรถยนต์ (บัส/ตู้ หมายเลขทะเบียนรถยนต์) มี (นาย.................................................................)   เป็นพนักงานขับรถยนต์ ปรากฏว่า (วันที่ ....... เดือน ............................. พ.ศ. ............) ซึ่งอยู่ในระหว่างการเดินทาง รถยนต์เกิดเสียหาย..............(แจ้งสาเหตุ)...................ซึ่งเกิดขึ้นโดยไม่คาดหมายไว้ก่อน และไม่อาจดำเนินการตามปกติได้ทัน แต่เนื่องจากมีความจำเป็นและเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการจัดซื้อ/จ้างซ่อม เพื่อให้การปฏิบัติราชการไม่เสียหาย

                        จึงขออนุมัติดำเนินการซื้อ/ จ้างซ่อม โดยวิธีตกลงราคาตามข้อ 39 วรรค 2 แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจาก..........................................(บุคคล, ห้าง, ร้าน, หรือบริษัท)  จำนวน...................รายการ  เป็นจำนวนเงิน..............................บาท  (..............................................................) ตามเอกสารที่แนบมาพร้อมนี้ (หมายถึงเอกสารรับเงิน, ใบเสร็จรับเงินที่ถูกต้อง) และขอแต่งตั้ง............................(ผู้รายงาน)....................เป็นกรรมการตรวจรับพัสดุ


                         จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ


ลงชื่อ.....................................................                                                                (....................................................)                                                          ตำแหน่ง.................................................


หมายเหตุ :  ต้องแนบคำสั่งอนุมัติการเดินทางของท่านและผู้เกี่ยวข้องด้วย


บทลงโทษทางปกครอง


              ข้อ 37 เจ้าหน้าที่ผู้ใดมีหน้าที่ดำเนินการจัดซื้อหรือจัดจ้าง ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายหรือระเบียบที่ใช้บังคับกับหน่วยรับตรวจโดยมิชอบ แบ่งแยกวงเงินจัดซื้อหรือจัดจ้างเพื่อให้อำนาจสั่งซื้อสั่งจ้างหรือวิธีการสั่งซื้อสั่งจ้างเปลี่ยนแปลงไปจากที่กำหนดไว้ในกฎหมายหรือระเบียบดังกล่าว เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่รัฐต้องรับโทษปรับทางปกครอง ชั้นที่ 4


หมายเหตุ  โทษชั้นที่ 4 โทษปรับเท่ากับเงินเดือนตั้งแต่ 9 เดือน ถึง  12 เดือน


การจัดซื้อ/จัดจ้าง ตามนัยข้อ 39 วรรค 2


              การซื้อ/การจ้างโดยวิธีการตกลงราคา ในกรณีจำเป็นและเร่งด่วน ที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดหมายไว้ก่อน และไม่อาจดำเนินการตามปกติได้ทันให้เจ้าหน้าที่พัสดุ หรือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ในการปฏิบัติราชการนั้น ดำเนินการไปก่อน แล้วรีบรายงานขอความเห็นชอบต่อหัวหน้าส่วนราชการ และเมื่อหัวหน้าส่วนราชการให้ความเห็นชอบแล้ว ให้ถือว่ารายงานดังกล่าวเป็นหลักฐานการตรวจรับโดยอนุโลมตามระเบียบฯ ข้อ 39 วรรค 2 เป็นการจัดซื้อจัดจ้างในกรณีจำเป็นและเร่งด่วนที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดหมายไว้ก่อน และไม่อาจดำเนินการตามปกติได้ทัน และวงเงินในการซื้อหรือจ้างไม่เกิน 1 แสนบาท หากจำเป็นต้องซื้อหรือจ้างเร่งด่วน เจ้าหน้าที่พัสดุหรือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการนั้น ก็สามารถดำเนินการซื้อหรือจ้างไปก่อนได้ โดยไม่จำเป็นต้องจัดทำรายงานขอซื้อหรือขอจ้างตามระเบียบฯ ข้อ 27


              เนื่องจากเป็นกรณีที่ต้องซื้อหรือจ้างเร่งด่วน จึงไม่อาจรอรายงานให้หัวหน้าส่วนราชการทราบก่อนได้ และเมื่อเจ้าหน้าที่พัสดุหรือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบได้ดำเนินการซื้อหรือจ้างไปก่อนแล้วให้รีบรายงานขอความเห็นชอบต่อหัวหน้าส่วนราชการ แล้วให้ถือว่ารายงานขอความเห็นชอบเป็นหลักฐานในการตรวจรับการจัดซื้อจัดจ้างโดยเร่งด่วนตามข้อ 39 วรรค 2 วงเงินเกินหรือไม่เกิน 10,000 บาท ก็ตามจึงไม่ต้องมีกรรมการตรวจรับ แต่ให้ใช้รายงานขอความเห็นชอบที่หัวหน้าส่วนราชการให้ความเห็นชอบในการซื้อหรือจ้างโดยเร่งด่วนดังกล่าวเป็นหลักฐานในการตรวจรับ



ที่มา : สำนักมาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ 

http://www2.cgd.go.th/webboard_topicdetail.asp?cat=8&id=28855

สรุป โดยย่อเบื้องต้นสำหรับ E-GP ระยะที่ 2

วัตถุประสงค์ของระบบ

  1. เพื่อครอบคลุมวิธีจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งมีทั้งหมด 12 วิธี
  2. ครอบคลุมทุกขั้นตอนกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างที่มีประสิทธิภาพ
  3. เพื่ออำนวยความสะดวก (เชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานภายนอก) (ระบบ GFMIS, และธนาคาร, ศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาไทย
  4. การดำเนินงานบริหารสัญญา

ประโยชน์ที่ได้รับ

         ระบบ E – GP คือศูนย์กลางที่เป็นหน้าต่างในการบริหารข้อมูล และดำเนินธุรกรรมทางการจัดซื้อจัดจ้าง ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์

การนำระบบ E – GP มาใช้ในการทำงาน (จัดซื้อจัดจ้าง)

          การจัดซื้อจัดจ้างต่อไปต้องทำในระบบ E –GP ทั้งหมดเกือบทั้งหมด แต่ปัจจุบันให้ทำในระบบได้เฉพาะวงเงินที่จัดซื้อ (เงินงบประมาณแผ่นดิน) และการสอบราคา /ประกวดราคา / และการประกวดราคาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์   และมีสิ่งที่ไม่ต้องนำมาลงในระบบ E – GP (กรณีซื้อโดยวิธีตกลงราคา) คือ
  1. การจัดซื้อจัดจ้างในวงเงินที่ต่ำกว่า  5,000 บา
  2. การซื้อวัสดุโดยใช้เงินรายได้
  3. การจ้างเหมาบริการโดยใช้เงินรายได้
  4. การจ้างเหมาบริการจากบุคคลธรรมดา
  5. การจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธี 39 วรรค 2 (กรณีเร่งด่วน)
  6. การจัดซื้อจัดจ้างด้วยเงินทดรองราชการ

ขั้นตอนโดยสรุปของระบบ E – GP ระยะที่ 2

  1. ต้องจัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้าง รายปีรายงบประมาณ  
  2. แต่งตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ สามารถดึงฐานข้อมูลของคณะกรรมการต่าง ๆที่เคยบันทึกไว้ในระบบได้โดยใช้เลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก
  3. เป็นการจัดทำเอกสารรายงานขอซื้อขอจ้างเสนอต่อหัวหน้าส่วนราชการเพื่อให้ความเห็นชอบ
  4. ข้อมูลที่เชื่อมโยงกับธนาคาร
  5. การซื้อซอง Online ผู้ค้าสามารถเลือกชำระเงินค่าเอกสารผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยสามารถเลือกชำระผ่านทาง Internet Banking หรือพิมพ์ใบชำระเงิน Pay in Slip ไปชำระที่ธนาคาร และสามารถดาวน์โหลดเอกสารได้ทันที  / หน่วยงานภาครัฐสามารถสามารถค้นหาและตรวจสอบข้อมูลการโอนเงินการซื้อเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์เข้าบัญชีของหน่วยงาน 
  6. หนังสือค้ำประกัน  ผู้ค้ากับภาครัฐสามารถยื่นขอหนังสือค้ำประกันทางอิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ต้องเดินทางไปที่เคาน์เตอร์ธนาคาร  / หน่วยงานภาครัฐสามารถตรวจสอบหนังสือค้ำประกันได้ทางอิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ต้องใช้หนังสือค้ำประกันที่เป็นเอกสาร และมั่นใจได้ว่าไม่เป็นหนังสือค้ำประกันปลอม หน่วยงานภาครัฐสามารถแจ้งยึดและคืนหลักประกันให้ผู้ค้าได้ทางอิเล็กทรอนิกส์โดยแจ้งไปที่ธนาคารให้ทำการโอนเงินเข้าบัญชีของหน่วยงาน (กรณียึดหลักประกัน) และโอนเงินเข้าบัญชีผู้ค้า (กรณีคืนหลักประกัน) ได้ทันที
  7. การตรวจสอบหนังสือค้ำประกัน   Bank Guarantee
  8. จัดทำหนังสืออนุมัติสั่งซื้อสั่งจ้าง 
  9. จัดทำร่างสัญญาเป็นการจัดทำร่างสัญญาหรือข้อตกลงตามรูปแบบมาตรฐาน และเป็นการจัดทำหนังสือแจ้งผู้ชนะเสนอราคา
  10. ตรวจสอบหลักประกันสัญญาและจัดทำสัญญา  ทั้งที่มาจากธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์ และที่ยื่นผ่านหน่วยงานโดยตรง
  11. การบริหารสัญญา 
  12. ข้อมูลการบริหารสัญญา  หน่วยงานภาครัฐสามารถเรียกดูข้อมูลของสัญญาหรือข้อตกลง  และสามารถตรวจสอบสถานะของสัญญาหรือข้อตกลง ดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสัญญาหรือข้อตกลง

วิธีตกลงราคา  ต้องทำทั้งหมด 8 ขั้นตอน

                       สร้างโครงการ
  1.       จัดทำรายงานขอซื้อขอจ้าง
  2.       บันทึกเลขที่ และวันที่ของเอกสารและคำสั่ง
  3.       บันทึกราคาของผู้เสนอราคา
  4.       จัดทำหนังสืออนุมัติสั่งซื้อสั่งจ้าง
  5.       จัดทำร่างสัญญา
  6.       ตรวจสอบหลักประกันสัญญาและจัดทำสัญญา
  7.       ข้อมูลในสาระสำคัญในสัญญา
  8.       การบริหารสัญญา

วิธีสอบราคา / วิธีประกวดราคา  มี 14 ขั้นตอน

                       แผนการจัดซื้อจัดจ้าง   / สร้างโครงการ
  1.       จัดทำรายงานขอซื้อขอจ้าง
  2.       บันทึกเลขที่และวันที่ของเอกสารและคำสั่ง
  3.       ประกาศเชิญชวนขึ้น Web site
  4.       บันทึกรายชื่อผู้ขอรับเอกสาร/ซื้อเอกสาร
  5.       บันทึกรายชื่อผู้ยื่นเอกสารเสนอราคา
  6.       บันทึกและประกาศรายชื่อผู้ผ่านการตรวจสอบ
  7.       บันทึกราคาของผู้เสนอราคา
  8.       บันทึกรายชื่อผู้ผ่านการพิจารณา
  9.       จัดทำหนังสืออนุมัติสั่งซื้อสั่งจ้าง
  10.       ประกาศรายชื่อผู้ชนะการเสนอราคาขึ้น Web site  
  11.       จัดทำร่างสัญญา
  12.       ตรวจสอบหลักประกันสัญญาและจัดทำสัญญา
  13.       ข้อมูลสาระสำคัญ
  14.       การบริหารสัญญา

วิธี e – Auction   มี 21 ขั้นตอน

                       แผนการจัดซื้อจัดจ้าง  / สร้างโครงการ
  1.       แต่งตั้งคณะกรรมการร่าง TOR
  2.       ร่าง TOR และร่างเอกสาร
  3.       ปรับปรุงร่าง TOR และร่างเอกสาร
  4.       บันทึกผู้ให้บริการตลาดกลาง
  5.       จัดทำรายงานขอซื้อขอจ้างและแต่งตั้งคณะกรรมการ
  6.       บันทึกเลขที่และวันที่ของเอกสารและคำสั่ง
  7.       ประกาศเชิญชวนขึ้น web Site
  8.       บันทึกรายชื่อผู้ขอรับเอกสารซื้อเอกสาร
  9.       บันทึกรายชื่อผู้ยื่นเอกสารเสนอราคา
  10.       บันทึกรายชื่อผู้ผ่านการพิจารณา
  11.       แจ้งผลการพิจารณา
  12.       รับเรื่องและจ้างผลอุทธรณ์
  13.       นัดหมายเสนอราคา
  14.       แจ้งรายชื่อผู้มีสิทธิเสนอราคา
  15.       จัดทำหนังสืออนุมัติสั่งซื้อสั่งจ้าง
  16.       ประกาศรายชื่อผู้ชนะการเสนอราคาขึ้น Web site
  17.       รับเรื่องและจ้างผลอุทธรณ์โดย กวพ.อ.
  18.       จัดทำร่างสัญญา
  19.       ตรวจสอบหลักประกันสัญญาและจัดทำสัญญา
  20.       ข้อมูลสาระสำคัญในสัญญา
  21.       การบริหารสัญญา

วิธีพิเศษ / วิธีกรณีพิเศษ มี  8 ขั้นตอน

                       สร้างโครงการ
  1.       จัดทำรายงานขอซื้อขอจ้างและแต่งตั้งคณะกรรมการ
  2.       บันทึกเลขที่และวันที่ของเอกสารและคำสั่ง
  3.       บันทึกราคาของผู้เสนอราคา
  4.       จัดทำหนังสืออนุมัติสั่งซื้อสั่งจ้าง
  5.       จัดทำร่างสัญญา
  6.       ตรวจสอบหลักประกันสัญญาและจัดทำสัญญา
  7.       ข้อมูลสาระสำคัญในสัญญา
  8.       การบริหารสัญญา

จ้างที่ปรึกษา โดยวิธีตกลงราคา  มี 8 ขั้นตอน

                       สร้างโครงการ
  1.       จัดทำรายงานขอซื้อขอจ้างและแต่งตั้งคณะกรรมการ
  2.       บันทึกเลขที่และวันที่ของเอกสารและคำสั่ง
  3.       บันทึกราคาของผู้เสนอราคา
  4.       จัดทำหนังสืออนุมัติสั่งซื้อสั่งจ้าง
  5.       จัดทำร่างสัญญา
  6.       ตรวจสอบหลักประกันสัญญาและจัดทำสัญญา
  7.       ข้อมูลสาระสำคัญในสัญญา
  8.       การบริหารสัญญา

จ้างออกแบบ โดยวิธีคัดเลือก  มี 14 ขั้นตอน

                       แผนการจัดซื้อจัดจ้าง  / สร้างโครงการ
  1.       จัดทำรายงานขอซื้อขอจ้างและแต่งตั้งคณะกรรมการ
  2.       บันทึกเลขที่และวันที่ของเอกสารและคำสั่ง
  3.       ประกาศเชิญชวนขึ้น web Site
  4.       บันทึกรายชื่อผู้ขอรับเอกสารซื้อเอกสาร
  5.       บันทึกรายชื่อผู้ยื่นเอกสารเสนอราคา
  6.       บันทึกและประกาศรายชื่อผู้ผ่านการตรวจสอบ
  7.       บันทึกราคาของผู้เสนอราคา
  8.       บันทึกรายชื่อผู้ผ่านการพิจารณา
  9.       จัดทำหนังสืออนุมัติสั่งซื้อสั่งจ้าง
  10.       ประกาศรายชื่อผู้ชนะการเสนอราคาขึ้น Web sit  
  11.       จัดทำร่างสัญญา
  12.       ตรวจสอบหลักประกันสัญญาและจัดทำสัญญา
  13.       ข้อมูลสาระสำคัญ
  14.       การบริหารสัญญา

จ้างออกแบบ โดยวิธีคัดเลือกแบบจำกัดข้อกำหนด มี 14 ขั้นตอน

                       แผนการจัดซื้อจัดจ้าง  / สร้างโครงการ
  1.       จัดทำรายงานขอซื้อขอจ้างและแต่งตั้งคณะกรรมการ
  2.       บันทึกเลขที่และวันที่ของเอกสารและคำสั่ง
  3.       ประกาศเชิญชวนขึ้น web Site
  4.       บันทึกรายชื่อผู้ขอรับเอกสารซื้อเอกสาร
  5.       บันทึกรายชื่อผู้ยื่นเอกสารเสนอราคา
  6.       บันทึกและประกาศรายชื่อผู้ผ่านการตรวจสอบ
  7.       บันทึกราคาของผู้เสนอราคา
  8.       บันทึกรายชื่อผู้ผ่านการพิจารณา
  9.       จัดทำหนังสืออนุมัติสั่งซื้อสั่งจ้าง
  10.       ประกาศรายชื่อผู้ชนะการเสนอราคาขึ้น Web sit  
  11.       จัดทำร่างสัญญา
  12.       ตรวจสอบหลักประกันสัญญาและจัดทำสัญญา
  13.       ข้อมูลสาระสำคัญ
  14.       การบริหารสัญญา

จ้างที่ปรึกษา โดยวิธีคัดเลือก  มี 14 ขั้นตอ

                       แผนการจัดซื้อจัดจ้าง  / สร้างโครงการ
  1.       จัดทำรายงานขอซื้อขอจ้างและแต่งตั้งคณะกรรมการ
  2.       บันทึกเลขที่และวันที่ของเอกสารและคำสั่ง
  3.       ประกาศเชิญชวนขึ้น web Site
  4.       บันทึกรายชื่อผู้ขอรับเอกสารซื้อเอกสาร
  5.       บันทึกรายชื่อผู้ยื่นเอกสารเสนอราคา
  6.       บันทึกและประกาศรายชื่อผู้ผ่านการตรวจสอบ
  7.       บันทึกราคาของผู้เสนอราคา
  8.       บันทึกรายชื่อผู้ผ่านการพิจารณา
  9.       จัดทำหนังสืออนุมัติสั่งซื้อสั่งจ้าง
  10.       ประกาศรายชื่อผู้ชนะการเสนอราคาขึ้น Web sit  
  11.       จัดทำร่างสัญญา
  12.       ตรวจสอบหลักประกันสัญญาและจัดทำสัญญา
  13.       ข้อมูลสาระสำคัญ
  14.       การบริหารสัญญา

จ้างออกแบบ โดยวิธีตกลง มี 8 ขั้นตอน

                       สร้างโครงการ
  1.       จัดทำรายงานขอซื้อขอจ้าง
  2.       บันทึกเลขที่ และวันที่ของเอกสารและคำสั่ง
  3.       บันทึกราคาของผู้เสนอราคา
  4.       จัดทำหนังสืออนุมัติสั่งซื้อสั่งจ้าง
  5.       จัดทำร่างสัญญา
  6.       ตรวจสอบหลักประกันสัญญาและจัดทำสัญญา
  7.       ข้อมูลในสาระสำคัญในสัญญา
  8.       การบริหารสัญญา

จ้างออกแบบ วิธีพิเศษ เลือกจ้าง  มี 8 ขั้นตอน

                       สร้างโครงการ
  1.       จัดทำรายงานขอซื้อขอจ้าง
  2.       บันทึกเลขที่ และวันที่ของเอกสารและคำสั่ง
  3.       บันทึกราคาของผู้เสนอราคา
  4.       จัดทำหนังสืออนุมัติสั่งซื้อสั่งจ้าง
  5.       จัดทำร่างสัญญา
  6.       ตรวจสอบหลักประกันสัญญาและจัดทำสัญญา
  7.       ข้อมูลในสาระสำคัญในสัญญา
  8.       การบริหารสัญญา

จ้างออกแบบโดยวิธีพิเศษ ประกวดราคา มี 14 ขั้นตอน

                       แผนการจัดซื้อจัดจ้าง  / สร้างโครงการ
  1.       จัดทำรายงานขอซื้อขอจ้างและแต่งตั้งคณะกรรมการ
  2.       บันทึกเลขที่และวันที่ของเอกสารและคำสั่ง
  3.       ประกาศเชิญชวนขึ้น web Site
  4.       บันทึกรายชื่อผู้ขอรับเอกสารซื้อเอกสาร
  5.       บันทึกรายชื่อผู้ยื่นเอกสารเสนอราคา
  6.       บันทึกและประกาศรายชื่อผู้ผ่านการตรวจสอบ
  7.       บันทึกราคาของผู้เสนอราคา
  8.       บันทึกรายชื่อผู้ผ่านการพิจารณา
  9.       จัดทำหนังสืออนุมัติสั่งซื้อสั่งจ้าง
  10.       ประกาศรายชื่อผู้ชนะการเสนอราคาขึ้น Web sit  
  11.       จัดทำร่างสัญญา
  12.       ตรวจสอบหลักประกันสัญญาและจัดทำสัญญา
  13.       ข้อมูลสาระสำคัญ
  14.       การบริหารสัญญา

การทำงานในระบบ E – GP ที่เราต้องเกี่ยวข้อง คือ

  1. การทำย้อนหลังสามารถทำได้ ยกเว้นประกาศที่ต้องเผยแพร่ขึ้นเว็บไซต์จะต้องลงวันที่เป้นปัจจุบันเท่านั้น (เพราะระบบจะไม่ยอมรับ)
  2. คณะกรรมการต้องมี  e – mail  ทุกคน
  3. คนที่จะทำงานในระบบต้องมีรหัสผ่าน เพื่อเข้าไปทำงาน
  4. งานธุรการต้องทำงานร่วมกับเราในเรื่องเลขออกหนังสือ
  5. ต้องแจ้งคณะกรรมการทุกคนให้รับทราบระเบียบในระบบ E-GP
  6. เวลาจะขออนุมัติต้องจัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้างก่อนที่จะทำในระบบ E-GP
  7. ต้องทำความเข้าใจกับเจ้าของโครงการก่อนที่จะดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อจะได้ให้เจ้าหน้าที่พัสดุดำเนินการได้ถูกต้องตามระบบของ E-GP

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://miza-eprocurement.blogspot.com/2012/08/e-gp-2.html

วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การบันทึกข้อมูลการซื้อโดยวิธีตกลงราคา ในระบบ e-GP

           ระบบ e-GP ระยะที่ 2 ได้กำหนดให้เจ้าหน้าที่พัสดุต้องบันทึกข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างทุกวิธี
 ตัวอย่าง หน้าจอของกระบวนการบันทึกข้อมูล การซื้อโดยวิธีตกลงราคา ในระบบ e-GP มีดังนี้

ขอขอบคุณข้อมูลจาก กลุ่มงานมาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
สํานักมาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
กรมบัญชีกลาง
http://www.gprocurement.go.th/wps/portal/index_EGP